บรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมี
สารเคมีในบรรจุภัณฑ์ เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยให้กับสารเคมี
การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง เป็นพิเศษ เนื่องจากการบรรจุ
และจัดเก็บสารเคมีถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย เพราะสารเคมีมีความซับซ้อนและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ นอกจากนี้สารเคมียัง
มีปฏิกิริยาทางเคมีต่อวัสดุแต่ละชนิดแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีแต่ละชนิดจึงควรคำนึงถึง
ความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเคมีที่อันตราย หากไม่ได้รับการบรรจุและจัดเก็บอย่างถูกต้องก็อาจจะก่อให้เกิด
ความเสี่ยงได้ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีจึงมีวัสดุและการออกแบบที่หลากหลาย เพื่อรองรับลักษณะเฉพาะของ
สารเคมีชนิดนั้นๆ ได้
วัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมี
การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับสารเคมีขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของสารเคมี ปริมาตร ข้อกำหนดใน
การขนส่ง เงื่อนไขการจัดเก็บ ข้อกำหนดในด้านกฎหมาย รวมไปถึงมาตรฐานความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมก็ถือเป็น
ปัจจัยสำคัญที่ละเลยไม่ได้อีกด้วย
• พลาสติก บรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติกถือเป็นวัสดุยอดนิยม เนื่องจากมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น รวมถึงมี
ความทนทานต่อสารเคมีหลากหลายประเภท นอกจากนี้พลาสติกยัง เป็นวัสดุที่มีนํ้าหนักเบา ซึ่งจะช่วยลด
ต้นทุนค่าขนส่งได้ แม้จะมีข้อดีมากมาย แต่พลาสติกก็อาจจะไม่เหมาะสมกับสารเคมีบางประเภท
• โลหะ โลหะถือเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีแบบดั้งเดิม แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการมักจะเลือกใช้วัสุดที่ยืดหยุ่นและทนทานอย่างพลาสติกแทน ดังนั้นการใช้โลหะเป็นบรรจุภัณฑ์จึงลดน้อยลง ส่วนใหญ่โลหะจะถูก
นำ มาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทอุตสาหกรรมหนักอย่างปิโตรเลียม รวมถึงสารเคมีและตัว ทำ
ละลายที่ติดไฟได้
• แก้ว การใช้แก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ก็ถือเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน เพราะด้วยคุณสมบัติของ
แก้วที่ไม่กัดกร่อน และมีฉนวนกันความร้อนที่ดี รวมถึงสามารถย้อมสีเพื่อป้องกันแสงจากภายนอกได้ ทำให้
บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากแก้วได้รับความนิยม นอกจากนี้แก้วยังเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ซํ้าได้และเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีข้อควรระวังคือ แก้วเป็นวัสดุที่แตกหักได้ง่าย ดังนั้นต้องได้รับการจัดการอย่าง
ระมัดระวังอยู่เสมอ
ปัจจัย ในการเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมี
• ความปลอดภัย เนื่องจากคุณสมบัติของสารเคมีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน สารเคมีบางชนิดจำเป็นต้อง
จัดเก็บตามปริมาตร อุณหภูมิ หรือความชื้นที่เหมาะสม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสารเคมีที่ไวไฟเป็นพิเศษ หรือ
สารเคมีที่มีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนสูงอาจทำให้เกิดอันตรายได้ อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่น ยาฆ่าแมลง
และนํ้าหอมปรับอากาศ มักถูกบรรจุอยู่ในกระป๋องโลหะที่ปลอดภัยต่อไฟฟ้าสถิตยเพราะจะช่วยลดความเสี่ยง
ในการระเบิดได้
• อันตรายต่อสุขภาพ สารเคมีบางประเภทอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นสารเคมีเหล่านี้จึงควรถูกจัดเก็บใน
บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยสูง ตั้งแต่กระบวนการบรรจุ การขนส่ง และการใช้งาน ตัวอย่างเช่น สารเคมีที่มี
ความเป็นกรดหรือด่างสูงอาจทำให้ผิวหนัง เกิดอาการแสบร้อนหรือไหม้ได้
• ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์สำหรับสารเคมีต้องสามารถทนต่อสภาพอากาศ และป้องกันไม่ให้
สารเคมีรั่วไหลหรือแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะในแหล่งนํ้า ดังนั้นการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่
เสื่อมสภาพได้ยากเมื่อกาลเวลาผ่านไป เช่น ขวดแก้วหรือพลาสติกก็สามารถป้องกันการระเหยและการรั่วไหล
ของสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• แสงและอุณหภูมิ ปัจจัยสำคัญอย่างแสงและอุณหภูมิจะส่งผลต่อเสถียรภาพและความปลอดภัย ของสารเคมีบาง
ชนิด เนื่องจากสารเคมีบางตัว อาจจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยเหล่านี้ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอาจทำ
ให้เกิดการเสื่อมสภาพหรือปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์บางชนิดจะมีการเคลือบสี โดยเฉพาะ
การเคลือบสีอำพันที่จะช่วยป้องกันแสง และคงอุณหภูมิที่เหมาะสม
แม้จะมีตัวเลือกมากมายในท้องตลาด แต่วัสดุสำหรับการบรรจุสารเคมีแต่ละชนิดก็มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป
ด้วยเหตุนี้การเลือกวัสดุจึงขึ้นอยู่กับประเภทสารเคมีที่นำมาบรรจุ นอกจากนี้การตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุ
คุณภาพ และปัจจัยด้านสิิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น อุณหภูมิและการสัมผัสกับแสง ความเข้ากันได้กับสารเคมีที่จัดเก็บก็ถือ
เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรสอบถามผู้ผลิตก่อนทำการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อยู่เสมอ
Comments